Back

ภาวะโลกเดือด วิกฤตภัยที่มนุษย์โลกยังไม่ตระหนัก

ภาวะโลกเดือด หายนะที่เริ่มต้นมาจาก “ภาวะโลกร้อน” จากจุดเริ่มต้นที่ปัญหาโลกร้อนได้เกิดขึ้น ในทุกวันนี้กลับวิกฤตเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถใช้คำว่า “โลกเดือด” ได้โดยไม่เกินจริง

ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อโลกของเราในทุกวันนี้ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องที่หลายคนทราบกันดี และมีบางภาคส่วนที่เริ่มดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ แต่ความจริงที่น่ากังวลคือ ยังมีคนอีกจำนวนมาก ที่ยังไม่ตระหนักถึงความร้ายแรงของวิกฤตนี้ในระดับที่ควรจะเป็น จนส่งร้ายแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็น “ภาวะโลกเดือด” ในปัจจุบัน

ภาวะโลกเดือด ทำน้ำแข็งขั้วโลกละลาย

สาเหตุของภาวะโลกเดือด 

เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ สู่ชั้นบรรยากาศ ก๊าซเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนผ้าห่มหนา ๆ ดักจับความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้ ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก: การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ก๊าซเหล่านี้สะสมและเก็บกักความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้โลกร้อนขึ้น

การตัดไม้ทำลายป่า: ป่าไม้เป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สำคัญ การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง และเมื่อเผาป่าเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเกษตร ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกกักเก็บไว้ ก็จะถูกปล่อยออกมา

การขยายตัวของเมือง: การขยายตัวของเมืองทำให้เกิดการสร้างสิ่งก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้พลังงานสูง การใช้พลังงานในรูปแบบนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ

ภาวะโลกเดือด จากน้ำมือมนุษย์

ผลกระทบจากภาวะโลกเดือด 

รุนแรงและกว้างขวางมากกว่าที่คิด ส่งผลต่อระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และสังคมทั่วโลก ภัยแล้ง น้ำท่วม พายุรุนแรง คลื่นความร้อน และไฟป่า สภาพอากาศแปรปรวน ที่เกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงมากขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร ความมั่นคงทางอาหาร และสุขภาพของมนุษย์ ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น คุกคามพื้นที่ชายฝั่งทะเล เมือง และชุมชน

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ: ภาวะโลกร้อนทำให้สภาพอากาศทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป โดยมีผลทำให้เกิดความแห้งแล้งในบางพื้นที่และน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการเกษตร การประมง และการเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตน้อย แต่ต้นทุนกลับสูงขึ้น จนทำให้สินค้าต่าง ๆ เริ่มขึ้นราคามากเรื่อย ๆ 

การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล: น้ำแข็งขั้วโลกละลายทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเล เกิดน้ำท่วม และการกัดเซาะชายฝั่ง ทำมาหากินไม่ได้ ทำให้ประชาชนในพื้นที่นั้นต้องย้ายถิ่นฐาน

“อ่านบทความเพิ่มเติม: การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล อาจส่งผลกระทบมากกว่าที่คิด”

ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง: การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิดต้องสูญพันธุ์หรือย้ายถิ่นฐาน บางชนิดไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ ทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล เช่น หมีขั้วโลกที่ไม่สามารถหากินได้ เนื่องจากปกติแล้วหมีขั้วโลก มักล่าแมวน้ำวงแหวนเป็นอาหาร โดยจะล่าบนแผ่นน้ำแข็งที่ลอยอยู่ห่างจากชายฝั่ง แต่เมื่อแผ่นน้ำแข็งหายไปเนื่องจากโลกที่ร้อนขึ้น หมีขาวจำนวนมากจำต้องอาศัยบนฝั่งนานขึ้น ไม่สามารถหาอาหารได้

แม้ว่าจะมีความพยายามระดับโลก ในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน แต่ความคืบหน้ายังคงล่าช้า จำเป็นต้องมีการดำเนินการที่จริงจังและเร่งด่วนจากทุกภาคส่วน รัฐบาล ภาคเอกชน และประชาชน แต่ดูเหมือนว่ามนุษย์โลกยังไม่ตระหนัก ถึงความร้ายแรงของวิกฤตนี้ หลายคนยังคงใช้ชีวิตตามปกติโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ยังมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างสิ้นเปลือง ตัดไม้ทำลายป่า และปล่อยมลพิษลงในสิ่งแวดล้อม

ถึงเวลาแล้วที่เราต้องตื่นรู้ และร่วมมือกันแก้ไขปัญหานี้ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เราสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของเรา เช่น ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลาสติก Single Use ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว เลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ปั่นจักรยาน หรือเดินเท้า เลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แยกขยะ โดยทุกคนสามารถเริ่มจากสิ่งง่าย ๆ รอบตัวได้


ECOLIFE สนับสนุนและเป็นส่วนหนึ่งของกระบอกเสียง ให้เราทุกคน เริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

“เราเชื่อว่า ทุกคนมีสิทธิ์ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี”

✨โหลด ECOLIFEapp เพื่อเข้าร่วมเป็นชาว ECO ได้ที่ :

👉🏻iOS download: https://apple.co/3tNdnZF

👉🏻Android download: https://bit.ly/3LqkCMO

ติดตามข้อมูลข่าวสารของ คิดคิด และ ECOLIFE ได้ที่

Facebook: ECOLIFE

Website: คิดคิด / ECOLIFE

KIDKID
KIDKID

This website stores cookies on your computer. Cookie Policy