Back

บาหลี ขยะ ล้นเกาะในอดีต ปัจจุบันเป็นเมืองที่แทบจะไม่มีพลาสติกแล้ว

บาหลี เกาะที่เคยถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีขยะพลาสติกบนเกาะเยอะที่สุด ปัจจุบันได้กลายเป็นเมืองที่มีขยะพลาสติกน้อยที่สุดในโลก

เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เคยมีปรากฏการณ์ของเกาะบาหลี ที่นักท่องเที่ยวและชาวบ้านได้ก่อขยะบนเกาะเป็นจำนวนมาก ซึ่งล้วนแต่มาจากขยะพลาสติกทั้งนั้น และบาหลียังได้มีปล่อยขยะสู่ท้องทะเลมากถึงปีละ 1.6 ล้านตัน 

บาหลี ขยะ พลาสติก ในทะเล

ปริมาณขยะเยอะจนศิลปินทนไม่ได้

จากปัญหาขยะดังกล่าวส่งผลให้ศิลปินหนุ่มชาวอินโดนีเซียอย่าง อาริ บายูอาจิ เลือกที่จะแปรเศษเชือกพลาสติกที่เก็บจากรอบ ๆ เกาะบาหลีมาถักทอเป็นผลงานศิลปะที่ส่งสารว่าด้วย “ขยะ-พลาสติก-ทะเล-บาหลี” และ “(ความเกี่ยวพันถึง) คุณ”

Ari Bayuaji
Ari Bayuaji

อาริเริ่มหันมาสนใจปัญหาเรื่องขยะพลาสติกในช่วงปี 2558 ตอนที่เขาถ่ายภาพต้นโกงกางที่ถูกปกคลุม ไปด้วยขยะพลาสติก ในระหว่างที่พักอยู่ในบาหลีนั้น เขามักจะเห็นขดเชือกพลาสติกหลากสีพันอยู่กับ พืชพันธุ์ต่าง ๆ ตามชายหาด ถูกคลื่นซัดขึ้นมาตามชายฝั่งบ้าง หรือติดมากับวัตถุต่าง ๆ บ้าง แม้กระทั่ง ติดมากับสัตว์ทะเลและปะการัง เชือกพลาสติกที่ใช้กับแหอวนจับปลาเหล่านี้มักจะถูกคลื่นซัดขึ้นมา ตามชายฝั่งทะเลเป็นจำนวนมหาศาล

ศิลปินกล่าวว่า “Weaving the Ocean เริ่มจากความคิดที่จะทดแทนวัสดุธรรมชาติที่กำลังหายไป ด้วยวัสดุธรรมชาติใหม่ ที่หาได้ง่าย วันหนึ่ง ผมค้นพบเชือกพลาสติกจำนวนมากติดอยู่กับรากโกงกาง ใกล้ ๆ หาดซานูร์ ชายฝั่งของบาหลี มันยึดโยงยุ่งเหยิงอยู่กับราก ราวกับเป็นส่วนหนึ่งตามธรรมชาติของต้นไม้ นี่เป็นแรงบันดาลใจให้ผมใช้ด้ายพลาสติกเป็นวัสดุทอ”

ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องเข้มงวด

มลพิษพลาสติกเป็นอีกวิกฤตทางสิ่งแวดล้อมที่ประเทศหมู่เกาะนี้กำลังเผชิญ อินโดนีเซียปล่อยขยะพลาสติกเป็นอันดับที่สองของโลกรองจากจีน และจากสถิติพบว่า บาหลีมีขยะพลาสติก ถึง 1.6 ล้านตันต่อปี 1 ใน 5 ของขยะทั้งหมดเป็นพลาสติก 

ดังนั้นในปี 2560 รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติ ทุ่มงบประมาณกว่า 1,000 ล้าน เหรียญสหรัฐ เพื่อลดขยะพลาสติกให้ได้ 70% ภายในปี 2568 เกาะบาหลีก็แบนพลาสติกใช้ครั้งเดียวอย่างถุงพลาสติก หลอด และโฟม ตั้งแต่ปี 2562

โดยในปลายปี 2561 วายัน คอสเตอร์ ผู้ว่าราชการของเกาะบาหลีประกาศห้ามการใช้ถุงพลาสติก, พลาสติกประเภทโพลีสไตรีน (Polystyrene) และหลอดพลาสติกบนเกาะ

และรัฐบาลอินโดนีเซียก็ให้คำมั่นว่า จะลดขยะพลาสติกในทะเลให้ได้ร้อยละ 70 ภายในปี 2568 นอกจากนี้ รัฐบาลบนเกาะบาหลีได้เปลี่ยนพื้นที่ฝังกลบขยะชื่อว่า ซูวัง ที่มีขนาดราว 200 ไร่ ซึ่งใหญ่ที่สุดของเกาะ ให้เป็นสวนสาธารณะเชิงนิเวศ (eco-park) และโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะ

บาหลี ขยะในทะเล
ขอบคุณภาพจาก: VoiceTV

แนวคิดจากองค์กรใหญ่ช่วยบาหลีได้มากขึ้น

ถึงแบบนั้น การออกกฎห้ามใช้ถุงพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งได้มีการคัดค้านจากบรรดาผู้ผลิตพลาสติก โดยพวกเขายืนกรานว่า การจัดการขยะสมควรได้รับการปรับปรุงแทนการลดการใช้ โดยสมาคม Indonesian Olefins, Aromatics and Plastics Association – INAPLA กล่าวว่าการสั่งห้ามใช้พลาสติกจะเป็นสิ่งปิดกั้นการค้นหาทางออกอย่างสร้างสรรค์ในการจัดการขยะมากขึ้น

Ocean’s + ECObali
EcoBali

EcoBali จึงเป็นบริษัทที่เสนอทางออกให้กับปัญหานี้ โดย เปาลา กันนุกเซียรี ผู้ที่อาศัยอยู่ในอินโดนีเซียมากกว่าสองทศวรรษ ได้ก่อตั้ง EcoBali มาตั้งแต่ปี 2549 กล่าวว่า “เราเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่บุกเบิกในเรื่องการแยกขยะ และเก็บรวบรวมขยะอนินทรีย์ ซึ่งในส่วนของขยะอินทรีย์ (เช่นเศษอาหาร) เราหวังว่าผู้คนจะเริ่มการทำปุ๋ยหมัก และพวกเขาสามารถใช้ระบบการทำปุ๋ยหมักของเราได้”

โดย EcoBali จะรวบรวมขยะอนินทรีย์ และนำไปยังศูนย์คัดแยกที่หมู่บ้านคังกู ในเกาะบาหลี และส่งพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ที่ศูนย์ในเกาะชวา

ขณะที่ Avani Eco องค์กรที่พัฒนาถุงพลาสติก บรรจุภัณฑ์อาหาร ที่สามารถย่อยสลายได้ และผลิตหลอดที่ทำมาจากมันสำปะหลัง โดยเควิน คูมาลา ผู้ก่อตั้ง กล่าวว่าผลิตภัณฑ์ของเขาสามารถละลายในน้ำได้ ไม่มีพิษ และสามารถย่อยสลายได้

Avani Eco
Avani Eco

“ผมคิดว่านอกเหนือจากหลัก 3R ที่ประกอบไปด้วย REDUCE (ลดการใช้), REUSE (ใช้ซ้ำ), RECYCLE (รีไซเคิล) แล้ว เราต้องรวมไปถึงการ REPURPOSE (นำกลับมาใช้ใหม่ในอีกรูปแบบ) และ REPLACE (ใช้วัสดุอื่นทดแทน) มันไม่เพียงพอที่จะยึดติดอยู่กับรูปแบบ 3R แบบเดิม” คูมาลากล่าวและเสริมว่า “สำหรับในประเทศนี้ เพื่อหลีกหนีจากปัญหาการกระจายของพลาสติก เราต้องให้ทางแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วย”

จากการร่วมมือกันทุกภาคส่วนตลอดเวลาที่ผ่านมา ส่งผลให้ในปัจจุบัน บาหลี ขยะ ลดลง และกลายเป็นสถานที่ที่ผู้คนมีการใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้งน้อยที่สุดของโลก ส่งผลให้เกาะและธรรมชาติที่สวยงามถูกฟื้นฟู เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และสถานที่สวยงามของผู้คนบนเกาะและนักท่องเที่ยวอีกครั้ง


✨โหลด ECOLIFEapp เพื่อเข้าร่วมเป็นชาว ECO ได้ที่ :

👉🏻iOS download: https://apple.co/3tNdnZF

👉🏻Android download: https://bit.ly/3LqkCMO

ติดตามข้อมูลข่าวสารของ คิดคิด และ ECOLIFE ได้ที่

Facebook: ECOLIFE

Website: คิดคิด / ECOLIFE

KIDKID
KIDKID

This website stores cookies on your computer. Cookie Policy