Comming soon

kidkid@admin

Comming soon

In Campaign1 Minute28 January 2025

TikTok React for change 2023

kidkid@admin

TikTok จุดประกายแนวคิดรักษ์สิ่งแวดล้อมในกลุ่มเยาวชนไทย ผ่านโครงการ “REact For Change ลองเปลี่ยนโลก 2023” ร่วมกับพันธมิตรอย่างกรุงเทพมหานคร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และบริษัท คิดคิด จำกัด เจ้าของเว็บไซต์ ECOLIFE

แคมเปญนี้ชวนเยาวชนสร้างคอนเทนต์รักษ์โลกบน TikTok ภายใต้ 3 RE Challenge:

  1. Refill: พกภาชนะส่วนตัวเพื่อลดพลาสติกใช้ครั้งเดียว
  2. Recheck: ตรวจสอบการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  3. Recycle: คัดแยกขยะเพื่อการกำจัดและรีไซเคิล

กิจกรรมจัดขึ้นตลอด 3 เดือน (ตุลาคม-ธันวาคม 2566) โดยครูหรือเจ้าหน้าที่โรงเรียนสามารถบันทึกข้อมูลการแยกขยะในเว็บไซต์ ECOLIFE เพื่อติดตามผลและคำนวณการลดก๊าซเรือนกระจก โรงเรียนที่ลดก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุด 10 อันดับแรกจะได้รับรางวัล

นอกจากนี้ โรงเรียน Eco-School 931 แห่ง ทั่วประเทศ ที่ริเริ่มจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนควบคู่ไปกับแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมปลูกฝังความเป็นพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมในกลุ่มนักเรียนไทยรวมถึงบุคลากรภายในโรงเรียน 

โดยแคมเปญ REact For Change ลองเปลี่ยนโลก จะช่วยส่งเสริมให้เยาวชนไทยให้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นผ่านการสร้างสรรค์คอนเทนต์บนแฟลตฟอร์ม TikTok และในเว็บไซต์ ECOLIFE ของ บริษัท คิด คิด จำกัด เป็นอีกส่วนสำคัญในการติดตามและวัดผลลัพธ์ของแคมเปญ โดยคุณครูหรือเจ้าหน้าที่โรงเรียนสามารถกรอกข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการขยะลงบนเว็บไซต์ ECOLIFE ซึ่งมีโปรแกรมที่ช่วยในการคำนวณ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละโรงเรียน

TikTok มุ่งเน้นกลยุทธ์ Smart Environment เพื่อสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมในกลุ่มเยาวชนไทย ผ่านการส่งเสริมคอนเทนต์ด้านสิ่งแวดล้อมบนแพลตฟอร์ม เช่น แคมเปญ #ไม่เทรวม #EcoNewsTH และ #ECOLIFEapp โดยแคมเปญ #ไม่เทรวม ช่วยลดขยะได้ 52 ตันใน 1 เดือน และ 94 ตันใน 3 เดือน

TikTok เชื่อมั่นว่าแคมเปญ REact For Change จะเป็นจุดเริ่มต้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทุกคนสามารถติดตามคอนเทนต์ REact For Change 2024 ได้ที่ช่อง TikTok ซึ่งจะช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวก เกิดการรับรู้ และนำไปสู่การปฏิบัติในวงกว้างเร็ว ๆ นี้

In Campaign1 Minute28 January 2025

SDG5

kidkid@admin

SDG 5 หนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ประการ ด้วยเป้าหมายที่มากมาย แต่กลับมีเพียงคนส่วนน้อยที่จะเข้าใจ และให้ความสำคัญกับมัน ดังนั้นเราจะทำอย่างไร ให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้โดยง่ายและกระชับมากยิ่งขึ้น

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ประการ หรือ SDGs 17 (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นชุดเป้าหมายการพัฒนาระดับโลกหลังปี 2015 ที่ได้รับการรับรองจาก 193 ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ

แต่ด้วยเป้าหมายหลักจำนวน 17 ข้อ และเป้าหมายแยกย่อยที่มีอีกมากมายจนยากที่จะจำได้ การที่เราจะเผยแพร่ข้อมูลในส่วนนี้ให้บุคคลทั่วไปเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญคงเป็นเรื่องที่ออกจะยากไปเสียหน่อย เพราะหากเราจะมาบรรยายหรืออธิบายให้เข้าใจโดยทั่วกัน คงจะคล้ายคลึงกับการเลคเชอร์ที่ออกจะน่าเบื่อไปเสียด้วยซ้ำ..

ยุคสมัยเปลี่ยนไป การนำเสนอก็เปลี่ยนตาม 

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มที่จะหันมาเสพเรื่องราวได้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ การเล่าเนื้อหาที่ยาว แต่ไม่มีอะไรดึงดูดความสนใจของผู้คน ก็มักจะไม่ได้รับความสนใจ และออกจะเบื่อหน่าย ขนาดที่ว่าตัวเราเองยังต้องปัดผ่าน จึงไม่เป็นเรื่องที่แปลกเลยหากวิดีโอสั้น หรือ Reels ต่าง ๆ จะได้รับความนิยมมากกว่าคลิปยาว ๆ ที่เราชอบดูกันเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา เราจึงต้องหาวิธีสร้างการรับรู้และความเข้าใจ ในรูปแบบที่เข้าถึงได้ และย่อยง่ายมากกว่าเดิม แต่ขณะเดียวกันจะทำอย่างไรให้เราสามารถถ่ายทอดเรื่องที่เข้าใจได้ยาก ให้สามารถเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

Rap-Hip Hop แนวเพลงสะท้อนสังคม

อย่างที่เราเข้าใจกันดี เพลง แร็ป-ฮิปฮอป มักเป็นแนวเพลงที่พูดอย่างตรงไปตรงมา ใช้คำพูดกับเสียงเพลง บอกเล่าตัวตนและสิ่งที่เราต้องการจะสื่อออกมาได้มากกว่าแนวเพลงอื่น ๆ ซึ่งแร็ปเปอร์ส่วนใหญ่ มักจะใช้ความสามารถของตนเองและแนวเพลงประเภทนี้ในการบรรยายเนื้อหาสะท้อนปัญหาสังคมต่าง ๆ ทั้งด้านการทุจริตและเอาเปรียบของกลไกรัฐ ความรุนแรง ยาเสพติด ปัญหาการเมืองและการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ

 

Lana Michele หรือที่รู้จักกันในนาม MC Lyte แร็ปเปอร์หญิงเดี่ยวคนแรกของโลก ได้ออกอัลบั้ม “Lyte As A Rock” ในปี 1988 ซึ่งเป็นหนึ่งใน 100 อัลบั้มเพลงแร็ปที่ดีที่สุดจากนิตยสารดนตรี The Source ซึ่งการเกิดแร็ปเปอร์หญิงผิวสีจากที่เคยมีแต่แร็ปเปอร์ชาย เป็นการสะท้อนถึงการยอมรับสิทธิเสรีภาพและความสามารถของสตรีผิวดำในสังคมดนตรีอเมริกามากขึ้น

 

คิด คิด เราจึงมองเห็นว่า แนวเพลงแร็ป-ฮิปฮอป คือแนวเพลงที่เหมาะสมต่อการเล่าเรื่องราว และสื่อความหมายของ SDG5 ที่พูดถึงความเท่าเทียม และเสมอภาคได้เป็นอย่างดี จึงก่อให้เกิดเป็นเพลง “SDG 5” โดยได้แร็ปเปอร์หญิงมากความสามารถอย่าง “CYANIDE” มาช่วยเล่าเรื่องราวที่ยาก ให้สามารถเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น

กว่าจะมาเป็น “SDG 5 – CYANIDE”

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องการที่จะสร้างการรับรู้แก่ประชาชน ถึงความเท่าเทียม และความเสมอภาค หมดยุคสมัยและแนวคิดที่ว่า ผู้หญิงต้องเป็นแม่บ้าน ผู้ชายต้องเป็นเสาหลักของครอบครัว หรือแม้แต่การให้เกียรติกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันก็เป็นสิ่งที่ต้องยึดถือและปฏิบัติ 

 

“ไม่ว่าใคร ก็มีสิทธิ์ที่จะใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง”

 

แต่ทุกสิ่งทุกอย่างจะเท่าเทียมได้ เราต้องเข้าใจ และคนรอบข้างก็ต้องสนับสนุนด้วยเช่นกัน การร่วมงานระหว่าง บริษัท คิด คิด จำกัด และนักร้องมากความสามารถอย่าง CYANIDE จึงได้เริ่มต้นขึ้น.. 

การสร้างความเข้าใจ ให้ความรู้ และคำแนะนำแก่ศิลปินคือหน้าที่ของเรา และตัวศิลปินเอง ก็ได้เข้าใจถึงเรื่องราวของ SDG5 ได้อย่างถ่องแท้ จึงกลายมาเป็นบทเพลงที่เข้ามาช่วยให้เราสามารถเข้าใจ SDG ข้อที่ 5 Gender Equality ความเสมอภาคระหว่างเพศ ได้ง่าย ๆ ผ่านบทเพลงที่มีท่อนร้องติดหู 

“SDG5 คือเท่าเทียม” “SDG5 คือเท่าเทียม” 

เราจึงอยากเชิญชวนทุกคน มาร่วมรับฟังบทเพลงนี้ และเข้าใจเรื่องราวของความเท่าเทียม และความเสมอภาคไปด้วยกัน สามารถรับชมและรับฟังบทเพลงดังกล่าวได้ที่นี่: https://youtu.be/QSkaQ-xG02c?feature=shared

In Communication1 Minutes28 January 2025

AIS Educators Thailand 2023

kidkid@admin

AIS Educators Thailand 2023 โครงการที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างสรรค์ Influencer ด้านการศึกษา เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์

AIS Academy ในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคมไทย จึงได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพผู้สอน และการจัดทำสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมและเป็นเวทีให้กับนักการศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรด้านการศึกษาทุกสังกัด นักศึกษาฝึกประสบการณวิชาชีพครูและติวเตอร์ ที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นการสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลงาน วิชาการด้านการเรียนการสอนให้ก้าวหน้าต่อไป

โดยโครงการ AIS Educators Thailand 2023 ทางบริษัท คิด คิด จำกัด ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการคิด ออกแบบ ประชาสัมพันธ์ ตลอดทั้งโครงการ

ซึ่งสำหรับปี 2023 ที่ผ่านมา ทางโครงการ AIS Educators Thailand 2023 ได้ผู้ชนะโครงการ และได้มอบรางวัลพระราชทานให้กับทั้ง 10 ท่าน

และในปี 2024 นี้ ทาง AIS Academy ก็ได้เริ่มต้นโครงการ AIS Educators Thailand 2024 อีกครั้ง ในปีนี้ทางโครงการก็ยังหวังที่จะได้ผู้นำด้านการศึกษาที่มีศักยภาพ และพร้อมที่จะร่วมพัฒนาการศึกษาไทย ให้ก้าวไกล และเข้าถึงง่ายมากขึ้นกว่าเดิม และมุ่งมั่นที่จะสร้างการเข้าถึงองค์ความรู้ผ่าน “มหานคร เพื่อการศึกษาที่เท่าเทียม”

ติดตามรายละเอียดโครงการ AIS Educators Thailand 2024 ได้ที่เว็บไซต์ AIS Academy

In Communication1 Minute28 January 2025

ทิ้งทูแทรช

kidkid@admin

ทิ้งทูแทรช โครงการแยกขยะ จาก กลต. และ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ให้การแยกขยะเป็นเรื่องง่าย โดยเริ่มจากในองค์กร

อย่างที่เรารู้กันว่าภาวะโลกร้อน คือมหัตภัยที่ยิ่งใหญ่และยาวนานที่สุด เป็นสภาวะที่ยากที่จะรักษาและส่งผลกระทบร้ายแรงไปทั่วทุกภาคส่วน และนับวันยิ่งทวีคูณความร้ายแรงมากยิ่งขึ้นไป

ภาวะโลกร้อนในยุคแรก

ย้อนกลับไปในช่วงปี 2551 หรือราว ๆ สิบกว่าปีที่ผ่านมา ปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน เริ่มเป็นที่ตระหนักรู้ในกลุ่มผู้คนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น และน้ำแข็งขั้วโลกละลาย สิ่งเหล่านี้นับเป็นปรากฏการณ์ในช่วงแรงของภาวะโลกร้อน ก่อนที่จะขยับมาเป็น “ภาวะโลกเดือด” ในปัจจุบัน

“ใช่ว่าที่ผ่านมามนุษย์ไม่พยายาม แต่มีเพียงส่วนน้อยที่ให้ความสำคัญ”

หลัก 7R คือสิ่งที่เราถูกสอนให้ปฏิบัติกันเพื่อช่วยลดก๊าซเรือนกระจก โดยจะประกอบด้วย Reduce, Reuse, Refill, Return, Repair, Replace และ Recycle ที่จะช่วยลดการผลิตใหม่ ลดการปล่อยก๊าซจากภาคอุตสาหกรรมสู่ชั้นบรรยากาศ การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก รวมไปถึงการแยกขยะ เพื่อให้กระบวนการกำจัดเป็นไปได้อย่างถูกวิธี

ทว่า ยังมีน้อยคนที่ตระหนักและหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราบางคนก็ยังคงใช้ชีวิตดังเช่นทุกครั้ง ใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้ง ทิ้งขยะไม่ลงถัง ไม่แยกขยะ และอีกมากมายที่เรามองว่ามันยังเป็นเรื่องไกลตัว

การแยกขยะ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยาก

การแยกขยะนั้นเชื่อได้เลยว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างปฏิบัติกันยาก แม้เราจะมองว่าก็แค่แยกขยะไม่ใช่เหรอ? แต่ในหลาย ๆ ครั้ง หลาย ๆ ที่ ก็ทำเอาเราสับสนมากกว่าจะเข้าใจ 

คนไทยส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยแยกขยะกันสักเท่าไหร่ เนื่องมองว่าเป็นเรื่องที่ยากและไม่มีการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง อีกทั้งถังขยะแต่ละจุด ก็มีสัญลักษณ์การทิ้งไม่เหมือนกัน บางที่ถังรีไซเคิลทิ้งแก้วพลาสติกได้ แต่บางที่เป็นถังรีไซเคิลเช่นเดียวกัน แต่กลับทิ้งแก้วพลาสติกไม่ได้

การที่ถังขยะแต่ละที่มีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกไม่เหมือนกัน ก็สามารถสร้างความเข้าใจผิดให้กับคนที่ต้องการจะทิ้งได้อีกด้วย ดังนั้นแล้วหากเราจะโทษว่าคนส่วนใหญ่ไม่ยอมแยกขยะก็คงเป็นเรื่องที่ผิด เพราะการจัดการเรื่องของการแยกขยะ และการให้ความรู้ในเรื่องนี้ยังเบาบางอย่างเห็นได้ชัด ทั้งยังไม่มีการเอื้ออำนวยความสะดวกในการทิ้งให้คนทิ้งกันง่าย ๆ อีกด้วย

เริ่มต้นที่องค์กร จบที่ตัวเรา

เพราะเรามองเห็นถึงความสำคัญ และคาดว่าการเริ่มต้นในองค์กร จะช่วยเสริมสร้างนิสัยการแยกขยะ จนนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ บ. คิด คิด จึงได้ร่วมกับ ก.ล.ต. พัฒนาระบบ ในโครงการ “ทิ้ง ทู แทรช” (Ting To Trash) แยกขยะโดยใช้ Software ช่วยเก็บข้อมูล ที่นอกจากจะช่วยเก็บข้อมูลการคัดแยกขยะแล้ว ยังเป็นส่วนที่ช่วยให้พนักงานในองค์กรเข้าใจในเรื่องการคัดแยกขยะได้มากขึ้น

ที่ผ่านมาทางคิด คิด เราได้พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับใช้เก็บข้อมูลการแยกขยะ และนำมาคำนวณเป็นจำนวนคาร์บอน ซึ่งระยะแรกได้นำร่องกับมหาลัยชั้นนำในประเทศไทย พบว่าได้รับกระแสตอบรับ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนิสิตและนักศึกษาไปในทิศทางที่ดี เพื่อที่จะสามารถขยายผลให้เป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น การร่วมมือกับทาง กลต. และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย จึงถือเป็นอีกการริเริ่มที่ดี

และเราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแยกขยะในองค์กรเป็นประจำ จะนำไปสู่การต่อยอด สร้างเป็นนิสัยใหม่ที่พนักงานทุกคน จะนำหลักความรู้และการแยกขยะแบบนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน หรือแหล่งท่องเที่ยวใด ๆ ก็ตาม พร้อมทั้งส่งต่อเรื่องราวดี ๆ เหล่านี้สู่ผู้คนรอบข้าง เพื่อสร้างสังคมสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ทิ้ง ทู แทรช โครงการที่อยากให้ทุกคนหันมาแยกขยะมากยิ่งขึ้น

บริษัท คิด คิด จำกัด เราเป็นผู้ให้บริการด้าน Sustainability innovation Agency ที่ต่อยอดและพัฒนาความต้องการของบริษัทเครือข่าย ให้สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับโลกได้ ในแบบฉบับไลฟ์สไตล์ของแต่ละองค์กร ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการแยกขยะ “ทิ้ง ทู แทรช” (Ting To Trash) จากการร่วมมือกันระหว่าง กลต. และ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย

โดยโครงการในครั้งนี้ได้จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมีความรู้เข้าใจในวิธีแยกขยะที่ถูกต้อง และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เริ่มต้นดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องการแยกขยะในรูปแบบรายงาน 56-1 One Report โดยมีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 121 แห่งเข้าร่วม 

ซึ่งทุก ๆ ครั้งที่มีการแยกขยะ และสแกน QR Code ผ่านแพลตฟอร์ม ECOLIFE จะมีการบันทึกกิจกรรมการแยกขยะของบริษัทจดทะเบียน โดยข้อมูลการแยกขยะเหล่านั้น จะถูกคำนวณเป็นปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (kg.co20) ที่บริษัทจดทะเบียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดได้ ตามสูตรการคำนวณขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)

ในอนาคตเราหวังเป็นอย่างมาก ว่าเราจะสามารถต่อยอดโครงการดี ๆ เช่นนี้ ได้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น เพราะเราเชื่อว่า..

“การเริ่มต้นที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จะสามารถต่อยอดและแพร่ขยายไปในวงกว้างได้”

In Culture1 Minutes27 January 2025